วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กล้วย

                                                              ประโยชน์ของกล้วย  ข้อมูลจาก http://www.samunpri.com


ถ้าต้องการให้ระดับพลังงาน ที่หย่อนยานลงให้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว ไม่มีอาหารว่างใดดีไปกว่า กล้วย อุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด
คือ ซูโครส ฟรุคโทส และ กลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด จากงานวิจัยพบว่ากินกล้วยแค่ 2 ผล ก็สามารถเพิ่มพลังงานให้อย่างเพียงพอ กับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ได้นานถึง 90 นาที จึงไม่น่าแปลกใจที่กล้วยเป็นผลไม้อันดับหนึ่งของนักกีฬาชั้นนำระดับโลก ไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงานเท่านั้นยังช่วยเอาชนะ และป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดกับร่างกายได้อีกหลายโรค จึงควรรับประทานทุกวัน



1. โรคโลหิตจาง ในกล้วยมีธาตุเหล็กสูงจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด และจะช่วยในกรณีที่มีสภาวะขาดกำลัง หรือภาวะโลหิตจาง

2. โรคความดันโลหิตสูง มีธาตุโปรแตสเซียมสูงสุด แต่มีปริมาณเกลือต่ำ ทำให้เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดที่จะช่วยความดันโลหิตมาก อย.ของอเมริกา ยินยอมให้อุตสาหกรรมการปลูกกล้วยสามารถ โฆษณาได้ว่า กล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายอันเกิดจากเรื่องความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก

3. กำลังสมอง นักเรียน 200 คน ที่โรงเรียน Twickenham ได้รับผลดีจากการสอบตลอดปีนี้ ด้วยการรับประทานกล้วย ในมื้ออาหารเช้า ตอนพัก และมื้ออาหารกลางวันทุกวัน เพื่อช่วยส่งเสริมกำลังของสมองในพวกเขา จากงานวิจัยแสดง ให้เห็นว่าปริมาณโปรแตสเซียมที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในกล้วยสามารถให้นักเรียนมีการตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น

4. โรคท้องผูก ปริมาณเส้นใยและกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยแก้ ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องกินยาถ่ายเลย

5. โรคความซึมเศร้า จากการสำรวจเร็ว ๆ นี้ ในจำนวนผู้ที่มีความทุกข์เกิดจากความซึมเศร้าหลายคนจะมี ความรู้สึกที่ดีขึ้นมากหลังการกินกล้วย เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า try potophan เมื่อสารนี้เข้าไปในร่างกายจะ ถูกเปลี่ยนเป็น serotonin เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวผ่อนคลายปรับปรุงอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ คือทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นนั่นเอง

6. อาการเมาค้าง วิธีที่เร็วที่สุดที่จะแก้อาการเมาค้าง คือ การดื่มกล้วยปั่นกับนมและน้ำผึ้ง กล้วยจะทำให้ กระเพาะของเราสงบลง ส่วนน้ำผึ้งจะเป็นตัวช่วยหนุนเสริมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดที่หมดไปในขณะที่นมก็ช่วย ปรับระดับของเหลวในร่างกายของเรา

7. อาการเสียดท้อง กล้วยมีสารลดกรดตามธรรมชาติที่มีผลต่อร่างกายของเรา ถ้าปัญหาเกี่ยวกับอาการเสียด ท้อง ลองกินกล้วยสักผล คุณจะรู้สึกผ่อนคลายจากอาการเสียดท้องได้

8. ความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า การกินกล้วยเป็นอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร จะรักษาระดับน้ำตาลใน เส้นเลือดให้คงที่ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า

9. ยุงกัด ก่อนใช้ครีมทาแก้ยุงกัด ลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด มีหลายคนพบอย่าง มหัศจรรย์ว่า เปลือกกล้วยสามารถแก้เม็ดผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้

10. ระบบประสาท ในกล้วยมีวิตามินบี สูงมาก ช่วยทำให้ระบบประสาทสงบลงได้ โรคน้ำหนักเกินและโรคที่ เกิดในที่ทำงาน จากการศึกษาของสถาบันจิตวิทยาในออสเตรียค้นพบว่า ความกดดันในที่ทำงานเป็นเหตุนำไปสู่ การกินอย่างจุบจิบ เช่นอาหารพวกช็อคโกแล็ต และอาหารประเภททอดกรอบต่าง ๆ ในจำนวนคนไข้ 5,000 คน ในโรงพยาบายต่าง ๆ นักวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรคอ้วนมากเกินไป และส่วนใหญ่ทำงานภายใต้ความกดดันสูง มาก จากรายงานสรุปว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการตื่นตระหนกและนำไปสู่การกินอาหารอย่างบ้าคลั่ง เราจึงต้องควบคุม ปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด ด้วยการกินอาหารว่างที่มีปริมาณคาร์โบโฮเดรตสูง เช่น กินกล้วยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อรักษาปริมาณน้ำตาลให้คงที่ตลอดเวลา ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่อยยา การกินกล้วยที่มีวิตามินบี 6 ซึ่งประกอบด้วย สารควบคุมระดับกลูโคสที่สามารถมีผลต่ออารมณ์ได้

11. โรคลำไส้เป็นแผล กล้วยเป็นอาหารที่แพทย์ใช้ควบคุม เพื่อต้านทานการเกิดโรคลำไส้เป็นแผล เพราะ เนื้อของกล้วยมีความอ่อนนิ่มพอดี เป็นผลไม้ชนิดเดียวที่ทานได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรค ลำไส้เรื้อรัง และกล้วยยังมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด ทำให้ลดการระคายเคือง และยังไปเคลือบผนังลำไส้และ กระเพาะอาหารด้วย

12. การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ในวัฒนธรรมของหลายแห่งเห็นว่ากล้วย คือผลไม้ที่สามารถทำให้ อุณหภูมิเย็นลงได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอุณหภูมิของอารมณ์ของคนที่เป็นแม่ที่ชอบคาดหวัง ตัวอย่างในประเทศไทย จะให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์รับประทานกล้วยทุกวันเพื่อให้แน่ใจว่า ทกรกที่เกิดมา จะมีอุณหภูมิเย็น

สงวนลิขสิทธิ์โดย @ เว็บไซต์สมุนไพรดอทคอม( http://www.samunpri.

vvvvkkvkขนvมที่ได้จากกล้วย


กล้วยฉาบ
ส่วนผสม
1. กล้วยหักมุก 1 หวี (แบบดิบ)
2. น้ำมันสำหรับทอด 2 ถ้วยตวง
3. น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง
4. น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ
5. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. ตั้งกระทะให้ร้อน เติมน้ำมันทั้งหมดลงในกระทะ พอให้ น้ำมันร้อน จึงปอกกล้วยแล้วฝาน เป็นแผ่นบาง ๆ ตาม ความยาวของผล ใส่ลงทอดในน้ำมันทันที หมั่นคนและ พลิกชิ้นกล้วยกลับให้ถูกความร้อนสม่ำเสมอกัน จนกรอบ ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ทำให้หมดหวี
2. เทน้ำมันออกจากกระทำให้หมด ใส่น้ำตาล น้ำ และเกลือ ลงในกระทะนั้น ต้มจนน้ำตาลละลาย และเคี่ยวต่ออีกครู่ จนน้ำตาลเหนียวเป็นเส้น เมื่อใช้ปลายมีดจุ่มลงในน้ำเชื่อม แล้วยกมีดขึ้น น้ำเชื่อมจะยืดตามมีดเป็นเส้น
3. ใส่กล้วยที่ทอดไว้ ลงในกระทะน้ำเชื่อมทันทีที่ยกลงจากเตา เคล้าเบา ๆ ให้น้ำเชื่อมจับชิ้นกล้วยให้ทั่วถึง
4. พักไว้จนเย็นสนิทและน้ำเชื่อมแห้งสนิทด้วย จึงเก็บใส่ ภาชนะที่ปิดได้สนิท
ลองทำดูนะคะ (อาจจะใช้กล้วยดิบอื่นๆก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นกล้วยหักมุก)

กล้วยแขก
เคล็ดลับ
กล้วยแขกที่มีรสชาติอร่อยนั้นนิยมใช้กล้วยน้ำว้าที่ไม่ดิบ หรือสุกจนเกินไป มาฝานตามยาวให้มีความหนาพอประมาณ โดยหนึ่งลูกควรผ่าประมาณ ๔-๕ ชิ้น จากนั้นนำไปชุบแป้งที่ผสมจากแป้งข้าวเจ้า มะพร้าวขูด น้ำตาล เกลือ น้ำปูนใส และงาคั่ว แล้วจึงนำไปทอดในน้ำมันร้อน ๆ เมื่อสุกเป็นสีเหลืองทองก็นำมาพักให้สะเด็ดน้ำมัน จึงรับประทานได้ รสชาติของกล้วยแขกจะมีความหวานมันหอม และกรอบแป้งที่หุ้มอยู่ภายนอกของกล้วย ส่วนภายในก็จะนุ่มเนื้อกล้วย ยิ่งถ้าคัดสรรที่สุกกำลังดี และผ่านขนาดที่เราเรียกว่า พอดี คือไม่บางหรือหนาจนเกินไปมาทอดก็จะยิ่งทวีความอร่อย
วิธีทำ
1. ตัดกล้วยออกจากหวีเป็นลูก ตัดหัวตัดท้าย ปอกเปลือกล้วย ดึงเสันใยที่ลูกออก วางเรียงบนตะแกรง ตากแดดประมาณ 6-7 วัน
2. เมื่อตากกล้วยจนครบ 5 วันแล้ว ทำน้ำเกลือ โดยใส่เกลือกับน้ำลงในหม้อเคลือบ ตั้งไฟกลางให้เดือด และเกลือละลาย ยกลง ทิ้งไว้ให้อุ่น
3. นำกล้วยที่ตากมาคลึงให้แบน โดยวางกล้วยบนใบตองแล้ววางใบตองทับข้างบน ใช้มีดกดเบา ๆ คลึงด้วยขวด จนกล้วยแบน ทำจนหมด แล้วล้างกล้วยด้วยน้ำเกลือที่ต้ม เรียงบนตะแกรง นำไปตากแดดอีกครั้งจนครบ 7 วัน หมั่นคอยกลับให้กล้วยแห้งทั้ง 2 ด้าน
4. เรียงกล้วยที่ตากลงในภาชนะที่มีฝาปิด ค้างไว้ 1 คืน กล้วยจะมีน้ำตาลซึมออกมา ทำให้กล้วยเป็นเงางามไม่แห้ง
กล้วยตาก

ส่วนผสมอาหาร
กล้วยน้ำว้า                              5 ผล
แป้งข้าวเจ้า                              2 ถ้วย
แป้งสาลี                                  2 ถ้วย
เกลือป่น                                  3 ช้อนชา
ผงฟู                                         2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย                            2 ถ้วย
น้ำปูนใส                                  2 ถ้วย
มะพร้าวขูดขาว                       4 ถ้วย
งาขาว                                      1/4 ถ้วย
น้ำมันพืช                                 4 ถ้วย


วิธีทำ1ร่อนแป้งทั้งสองชนิด, เกลือ, ผงฟู, และน้ำตาลทราย รวมกัน
2ใส่น้ำปูนใสทั้งหมดคนเร็ว ๆ ให้เข้ากัน ใส่มะพร้าวขูดและงาขาว
3ปอกเปลือกกล้วย แล้วผ่าแช่น้ำปูนใส ๑๕ นาที ล้างน้ำสะอาด
4ใส่น้ำมันในกระทะให้ร้อน
5ชุบกล้วยลงในแป้ง ทอดให้เหลือง ซับน้ำมันให้แห้ง 
m
                                    
กล้วยเป็นอาหาร
      จะผิดไหมนะ ถ้าพูดว่า "คนไทยทุกคนรู้จักกล้วย" หรือ "คนไทยทุกคนเคยกินกล้วย"คิดว่าคงไม่ผิด นัก อย่างมากก็ถูกไม่หมด
      กล้วยที่พูดถึงอยู่นี้ หมายถึง พืชชนิดหนึ่ง จำพวกต้นเป็นกาบหุ้มแก่น ซึ่งเรียกว่า หยวกใบแบนยาว ดอกเป็นปลี รูปยาวเป็นวง เป็นพืชที่เราได้รับประโยชน์จากแทบทุกส่วนของมัน ไม่ว่าจะเป็น ต้น กาบ ก้าน ใบ ปลี ผล และแม้กระทั่งยางกล้วย จะเว้นอยู่ก็แต่ ราก และเหง้าเท่านั้น
      คน นอกจากกินทุกส่วนของกล้วยเป็นอาหารเช่นเดียวกับช้างแล้ว คนยังนำส่วนต่าง ๆ ของกล้วย มาใช้  ประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย
      ต้นกล้วย หรือหยวกกล้วย หรือกาบกล้วย   ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง  เช่น  แกงกะทิ แกงเลียง แกงป่า ผัดเผ็ด ห่อหมก เป็นต้น
      ก้านกล้วย เมื่อปลอกเปลือกนอกที่แข็งและเหนียวออกแล้ว จะได้ไส้ในที่อ่อนนุ่มเป็นรูพรุนดั่งฟองน้ำ  มีรสหวานนิด ๆ นำไปหั่นละเอียดใส่เป็นส่วนผสมของอาหารจำพวก ลาบ ลู่ ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณ และรสชาติ ได้เป็นอย่างดี
     ใบกล้วย หมายถึง  ใบอ่อน ส่วนที่ฝังอยู่ใจกลางลำต้นกินสด ๆ หรืออาจจะลวกให้นิ่ม จิ้มน้ำพริกกิน กับข้าวอร่อยดีนัก
     ปลีกล้วย   หลายท้องถิ่นนำมาจิ้มน้ำพริกกินกับข้าว ทั้งในรูปผักสด และผักต้ม  บางถิ่นนำมาหั่น ให้ฝอย เป็นผักเคียงกินกับขนมจีน หรือหมี่กะทิ ในขณะที่หลายท้องถิ่นนำไปประกอบอาหาร ประเภทยำ และประเภทต่าง ๆ
     ผลกล้วยดิบ   เรานำกล้วยดิบไปประกอบอาหาร ทั้งอาหารคาว และหวาน อาหารคาว เช่น กล้วยลูกอ่อนต้ม เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ดองเป็นผักจิ้ม ทำส้มตำกล้วย ทำแกงเผ็ด เครื่องเคียงแหนมเนือง เป็นต้น      อาหารหวาน  เช่น กล้วยลูกโตพอสมควรนำมาต้มแล้วปลอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นโรยมะพร้าวขูด และน้ำตาล หรือนำมาฝานบาง ๆ ทำเป็นกล้วยฉาบ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นกล้วยที่ห่ามแล้วก็นำไปทำกล้วยปิ้ง กล้วยเผา กล้วยทับ ฯลฯ
      ผลกล้วยสุก   นอกจากเรากินกล้วยสุกในฐานะผลไม้อย่างดีชนิดหนึ่งแล้วเรายังนำกล้วยสุก ไปประกอบ หรือทำเป็นอาหารหวานชนิดต่าง ๆ ได้สารพัด เช่น กล้วยบวชชี กล้วยเชื่อม กล้วยแขก ข้าวเม่าทอด ข้าวต้มผัด กล้วยกวน ขนมกล้วย เป็นต้น นอกจากนี้อาจทำเป็นกล้วยคืนรูปโดยนำกล้วยสุก ไปลวกน้ำร้อน แล้วนำไปตากให้แห้ง เก็บไว้นาน ๆ เมื่อต้องการใช้ก็นำมาลวกน้ำร้อนอีกครั้งจะคืนสภาพ เหมือนกล้วยสุก ทั่วไป นำไปประกอบอาหารได้ตามวัตถุประสงค์
กล้วยกับการนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ
      ต้นกล้วย ใช้ประโยชน์โดยตรงได้หลายอย่าง เช่น นำมาเสียบเรียงติดต่อกันหลาย ๆ ต้น ทำเป็นแพล่องไปในน้ำได้สบาย ๆ หรือไม่ก็ให้เด็กใช้ในการฝึกว่ายน้ำ  ในค่ายมวยหลายแห่งใช้ต้นกล้วยที่ตัดเครือแล้ว มาให้นักมวยฝึกซ้อมต่างกระสอบทรายไม่ว่าจะเตะ ต่อย ตีศอก ตีเข่า ได้ทั้งนั้น  ในภาคอีสานหลายจังหวัดใช้ต้นกล้วยผูกเชือกหัว-ท้าย      ลากในแปลงนาให้ผิวหน้าดินเรียบในการไถคลาดก่อนการหว่านกล้า บางแห่งใช้ต้นกล้วย และกาบกล้วยสด มาสลักหรือที่เรียกว่า การแทงหยวกประดับหีบศพ หรือเมร
      กาบกล้วย   นอกจากนำไปฉีกเป็นเส้นตากให้แห้งทำเป็นเชือกที่เรียกว่า เชือกกล้วย ใช้มัดสิ่งของต่างๆ  แล้วอาจนำมาสาน หรือถักทอ ประดิษฐ์เป็นของใช้ของตกแต่ง หรือของเล่นชนิดต่าง ๆ ได้  ผลกล้วย  กล้วยน้ำว้าสุก ฝานบาง ๆ ใช้ปิดรูรั่วหลังคาสังกะสี ทนเป็นปี ดีนักแล
      ใบกล้วย (ใบตอง)  ทั้งใบตองสดหรือใบตองแห้งนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย  ใบตองสด สามารถนำมาทำกระทง  บายศรี หรือนำมาห่อขนมต่าง ๆ   หรือนำมารีดให้แห้งเพื่อนำมาใช้มวนบุหรี่สูบ
กล้วยกับการนำมาใช้เป็นยารักษาโรค
       บรรพบุรุษเผ่าพันธุ์ไทย มีภูมิปัญญาอันชาญฉลาด ได้นำส่วนต่าง ๆ ของกล้วยมาใช้รักษาโรค ซึ่งปัจจุบัน ยังคงใช้อยู่บ้าง เช่น ยางกล้วยใช้รักษาบาดแผลสด
       ถ้าเป็นโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร  ใช้กล้วยหักมุกดิบบดเป็นผงรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 4 ครั้ง หรือใช้กล้วยน้ำว้าสุกงอม รับประทานครั้งละ 2 ผลก่อนอาหาร 1-2 ชั่วโมง วันละ 3 ครั้ง จะช่วยผ่อนคลายหนักเป็นเบาได้
       ถ้าท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้กล้วยสุกตากแห้งแล้วบดให้ละเอียด รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ 4 เวลา ก่อนอาหาร และก่อนนอน รับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 7-10 วัน
       ถ้าเป็นบิดเรื้อรัง   ใช้กล้วยห่ามครึ่งผลผสมกับน้ำมะขามเปียก และเกลือ 1 ช้อนชา รับประทานวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ช้อนชา
       ถ้าต้องการมีอายุวัฒนะ อาจใช้กล้วยสุกงอมกับน้ำผึ้งเดือนห้า รับประทานครั้งละ 1-2 ผล หรือกล้วย สุกงอมหนึ่งหวีผสมกับมะตูมสุก 5 ผล บดผสมกับน้ำผึ้งเดือนห้า ปั้นเป็นเม็ดเท่าเมล็ดพุทรา รับประทาน ครั้งละ 1-2 เม็ดก่อนนอน หรือใช้กล้วยน้ำ หรือกล้วยน้ำว้าสุกงอมแช่น้ำผึ้ง 20 วัน แล้วรับประทานวันละ 1 ผลเป็นต้น
       นอกจากจะใช้เป็นยารักษาโรคดังกล่าวมาแล้วกล้วยยังนำมาเสริมสร้างสุขภาพของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น  คั้นน้ำจากต้นกล้วยใช้ทากันผมร่วงก็ได้ เปลือกกล้วยหอมสุกใช้ด้านในถูส้นเท้าหรือฝ่าเท้าที่แตก วันละ 3-4 ครั้ง  เหง้ากล้วยน้ำว้า 1 กำมือ ต้ม 10-15 นาที ดื่มวันละ 4-5 ครั้ง ทำให้ถ่ายปัสสาวะดีขึ้น
co

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น