มะละกอ Papaya
มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด
ลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโ๋ตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอใช้ผลบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก

การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ


โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ

มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด

การดูแลรักษามะละกอ

  1. การใ้ห้ปุ๋ย
    - ให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน
    - ให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว อัตรา 1ช้อนแกง/ต้น/หลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
  2. การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอจะเหลืองและตายในที่สุด
  3. การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน
  4. การทำไม้หลัก เพื่อค้ำยันพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม โดยเฉพาะช่วงติดผล

การเก็บเกี่ยว

มะละกอ ถ้าเก็บผลดิบสามารถเก็บได้หลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุกหลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน ถึงสามาถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีแต้มสีส้มปนเขียวนิดๆ ผลยังไม่นิ่ม
มะละกอ

       
ส้มตำมะละกอหลากสูตร ไม่ว่าจะเป็นตำไทย ตำไทยปู ตำปลาร้า ตำปูปลาร้า ตำซั่ว หรือแม้แต่ตำโคราชที่รวมเอาทุกอย่างเข้าด้วยกัน ล้วนอร่อยเด็ดแถมยังหามารับประทานได้ง่าย ด้วยเป็นที่ชื่นชอบของคนทุกภาค รวมไปถึงชาวต่างชาติที่มีโอกาสได้ลิ้มรสปาปาย่าสลัดหรือปาปาย่าป๊อก ๆ
        ผลดิบหรือผลห่ามยังนิยมนำไปทำแกงส้มปลาช่อนหรือแกงส้มกุ้งแกงเหลือง  ผัดกับไข่ ทำต้มจืด หรือนำไปดอง  ยางจากผลใช้สำหรับทำให้เนื้อเปื่อยเร็วจะใช้แบบสด ๆ หรือไปซื้อแบบผงที่ขายกันตามท้องตลาดที่เรียกว่าผงเปื่อยก็ได้  ซึ่งยางจากผลมะละกอแก่จะทำให้เนื้อนุ่มกว่าน้ำสับปะรดถึง  20 เท่า ปริมาณที่พอเหมาะสำหรับใช้หมักเนื้อคือ 12 หยดต่อเนื้อ 1 กิโลกรัม เพราถ้าหากใช้มากไปจะทำให้เนื้อเกิดรสขมและมีกลิ่นยางมะละกอแถมไปด้วย ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง   โดยในผลสีแดงจะมีปริมาณวิตามินซีมากกว่าพันธุ์สีเหลืองใช้ทำแยม ทำเครื่องดื่มและน้ำหวาน

ลักษณะทั่วไป

   
มะละกอเป็นไม้เนื้ออ่อนฉ่ำน้ำ มียางสีขาว ไม่มีแก่น วงศ์ CARICACEAE สูง 3 – 6 เมตร ใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๆ ออกที่บริเวณยอดลำต้น ดอกตัวผู้และดอกตวเมียอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้จะออกเป็นช่อห้อยหัวลงมา ส่วนดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกหรือออกดอกเดี่ยว ผลมีหลายลักษณะตามพันธุ์ที่ปลูก เช่น กลม ยาวรี ทรงกระบอก เมื่อยังอ่อนเปลือกนอกสีเขียว เนื้อในสีขาวแล้วค่อยๆ  เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มหรือแดงเมื่อสุก ภายในมีเมล็ดสีดำมีเยื่อหุ้ม
    มะละกอขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  โดยก่อนเพาะควรล้างและแกะเยื่อหุ้มออกก่อน ชอบดินที่มีระบายน้ำดีไม่ชอบน้ำท่วมขัง  เพราะรากจะเน่าง่ายแต่ต้องการน้ำมากและแสงแดดจัด
คุณค่าทางโภชนาการ
ผลดิบ 100 กรัม
พลังงาน
(กิโลแคลอรี่)
คาร์โบไฮเดรต
(กรัม)
โปรตีน
(กรัม)
ไขมัน
(กรัม)
ใยอาหาร
(กรัม)
แคลเซียม
(มิลลิกรัม)
ฟอสฟอรัส
(มิลลิกรัม)
เหล็ก
(มิลลิกรัม)
20
4.2
0.6
0.1
2.6
3.0
1.0
0.3
วิตามินบีหนึ่ง
(มิลลิกรัม)
วิตามินบีสอง
(มิลลิกรัม)
ไนอาซิน
(มิลลิกรัม)
วิตามินซี
(มิลลิกรัม)




0.03
0.1
0.2
19.0





ผลสุก 100 กรัม
พลังงาน
(กิโลแคลอรี่)
คาร์โบไฮเดรต
(กรัม)
โปรตีน
(กรัม)
ไขมัน
(กรัม)
ใยอาหาร
(กรัม)
แคลเซียม
(มิลลิกรัม)
ฟอสฟอรัส
(มิลลิกรัม)
เหล็ก
(มิลลิกรัม)
51
11.3
0.8
0.3
1.3
9.46
8.39
0.28
วิตามินบีหนึ่ง
(มิลลิกรัม)
วิตามินบีสอง
(มิลลิกรัม)
ไนอาซิน
(มิลลิกรัม)
วิตามินซี
(มิลลิกรัม)




173.84
0.03
0.3
35






“มะละกอ” ผลไม้ใช้เป็นยา
   
ในผลดิบมีเอนไซม์หรือน้ำย่อยหลายชนิด ที่สำคัญคือปาเปน (papane) มีคุณสมบัติที่ร่างกายผลิตขึ้นสำหรับย่อยอาหารประเภทโปรตีนและอาหารประเภทแป้ง และยังมีเพ็คติน (pectin) หรือกากอาหารสูง  การรับประทานมะละกอดิบจึงมีผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทว่าในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานมากนัก  เนื่องจากพบว่าในเนื้อมะละกอดิบจะช่วยขับประจำเดือนและทำให้คลอดง่าย  สตรีที่ตั้งครรภ์อ่อนๆ  หากทานมากไปอาจทำให้แท้งได้
    ยางจากผลดิบใช้ขับพยาธิตัวกลม ช่วยกัดแผล รักษาตาปลาและหูด
    ผลสุกจะมีสารอาหารและวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินเอและวิตามินซี ซึ่งช่วยบำรุงสายตา ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน นอกจากนี้ยังมีเพ็คติน (pectin) ที่จะช่วยรักษาอาการท้องผูกและท้องเสียในคราวเดียวกัน สำหรับรักษาอาการท้องเสียสารเมื่อกลิ่นของเพ็คตินจะช่วยให้อุจจาระแข็งตัวแทนที่จะถ่ายเหลวออกมา และสำหรับอาการท้องผูกเพ็คตินจะช่วยเพิ่มกากอาหารดูดซับน้ำในลำไส้แล้วพองตัวกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวขับถ่ายออกมาได้ง่าย

ตำรับยาใช้ภายนอก
1. รักษาแผลเรื้อรัง
ส่วนที่ใช้     ผลแก่ดิบ
        ***ก่อนใช้ยาขนานนี้ควรทดสอบผิวก่อนว่าแพ้ยางมะละกอหรือไม่โดยใช้เอาเนื้อมะละกอไปทาที่ซอกหุหรือข้อพับแขน หากมีผื่นขึ้นหรือรู้สึกแสบร้อนไม่ควรใช้ยาขนานนี้
วิธีใช้        นำผลมะละกอลแก่สดไปปอดเปลือกแล้วล้างน้ำให้สะอาด สับให้เป็นเส้นเล็ก ๆ นำไปบดหรือตำให้ละเอียด นำไปพอกบริเวณแผล ปิดทับด้วยผ้า สะอาดเปลี่ยยาวันละ 3 ครั้ง เช้า –กลางวัน – เย็น จนกว่าแผลจะหาย

2. ช่วยกัดแผล รักษาตาปลาย และหูด
ส่วนที่ใช้     ยางจากผลดิบ
        ***ก่อนใช้ยาขนานนี้ควรทดสอบผิวก่อนว่าแพ้ยางมะละกอ หรือไม
วิธีใช้        ใช้ยางจากผลดิบทาบริเวณตาปลาหรือหัวหูดจนกว่าจะหาย

3. แก้พิษตะขามหรือแมลงป่อง
ส่วนที่ใช้     ผลดิบแก่สด
        ***ก่อนใช้ยาขนานนี้ควรทดสอบผิวก่อนว่าแพ้ยางมะละกอหรือไม่
วิธีใช้        ผ่านเนื้อมะละกอดิบเป็นแผ่นบาง ๆ ให้มียางซึมออกมา แล้วนำไปวางบริเวณที่ถูกต่อย

ตำรับยาใช้ภายใน

1. ใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก และท้องเสีย

ส่วนที่ใช้     ผลสุก
        ****หากรับประทานมากประจำติดต่อกันนานจะทำให้เป็นโรคทีนีเนีย (โรคผิวสีเหลือง)  เพรานะมะละกอสุกจะมีสารแคโรทีนอยอยู่ในปริมาณมาก
วิธีใช้        รับประทานผลสุกเมื่อมีอาการ

2. ขับพยาธิเส้นด้ายในเด็ก

ส่วนที่ใช้     ยางและเมล็ด จากมะละกอแก่ดิบ
วิธีใช้        - ใช้ยางจากผลมะละกอดิบ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับไข่ 1 ฟอง ทอดให้เด็กทานให้หมดตอนเช้าขณะท้องว่าง
        -  ใช้น้ำยางสด 1 ช้อนโต๊ะ  น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำร้อน 3 – 4 ช้อนโต๊ะ ให้รับประทานครั้งเดียวหมด สำหรับเด็กอายุมากกว่า 10 ขวบ ในเด็กอายุระหว่าง 7 – 10 ขวบ  ให้ลดย่างมะละกอเหลือครึ่งหนึ่ง  หลังจากทานยานี้  2  ชั่วโมงให้ทานน้ำมันละหุ่ง 2 – 3 ช้อนชา กระตุ้นให้ขับถ่ายออกมา ควรทานยานี้ติดต่อกัน 2 วัน
        - ใช้เมล็ดมะละกอสดหรือ ที่แห้งใหม่ๆ 1 – 1.5 ช้อนกาแฟ คั่วไฟพอให้บดได้ง่าย บดแล้วผสมน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมพอหวาน
ทานติดต่อกัน 2 – 3 วัน


ประโยชน์ สรรพคุณทางยาของมะละกอ
ประโยชน์ของมะละกอ
มะละกอถูกนำไปใช้ประโยชน์เกือบทุกส่วนของต้น เริ่มจากส่วนใบและยอดของมะละกอสามารถใช้เป็นผักเพื่อ ปรุงอาหารได้ ส่วนลำต้นของมะละกอหากปอกเปลือกออกจะเห็นเนื้อภายในส ีขาวครีม มีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายหัวผักกาดของจีน สามารถนำมาประกอบอาหารได้เช่นกัน(ดองเค็ม-ตากแห้ง) เป็นอาหารที่มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้สารอาหารต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี แคลเซียม ธาตุเหล็กและวิตามินซี สารอาหารเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น

ผลมะละกอ(โดยเฉพาะผลดิบ)
จะมียางสีขาวข้นที่นำมาใช้ประโยชน์โดยสกัดเป็นเอนไซม ์ปาเปอีน(Papain) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและยังใช้หมักเนื้อ(ป รุงอาหาร)ทำให้เนื้อนุ่มอีกด้วย ประโยชน์ของยางมะละกอถูกใช้ในการปรุงอาหารโดยใส่ในหม ้อขณะต้มเนื้อเพื่อเร่งให้เนื้อเปื่อยเร็วขึ้น ผลมะละกอทั้งผลดิบและผลสุกยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง ผลมะละกอดิบมีสรรพคุณทางยาสามารถใช้เป็นพืชสมุนไพรช่ วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบายอ่อนๆ นอกจากนี้ผลมะละกอดิบยังนำไปใช้ทำเป็นเครื่องดื่มสมุ นไพรคือ ชามะละกอที่มีสรรพคุณในการช่วยล้างลำไส้ โดยบริเวณผนังลำไส้ของคนเราจะมีคราบไขมันเกาะติดอยู่ เนื่องจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมันเป็นประจำ คราบไขมันนี้จะเป็นตัวคอยขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึม สารอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ การดื่มชามะละกอเป็นประจำจึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพช่ วยล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ทำให้ระบบดูดซึมสารอาหาร ของลำไส้ทำงานได้อย่างเต็มที่

ประโยชน์ของมะละกอดิบ
ที่เป็นที่รู้จักกันดีอีกอย่างหนึ่งคือการนำไปปรุงเป ็นอาหาร “ส้มตำ” ซึ่งถือว่าเป็น “อาหารเพื่อสุขภาพ” ที่คนรู้จักกันดี ส่วนผลมะละกอสุกมีประโยชน์หลายอย่างไม่แพ้ผลมะละกอดิ บเลยคือการกินผลมะละกอสุกจะช่วยบำรุงธาตุ เป็นตัวช่วยย่อยอาหารทำให้ระบบขับถ่ายดีและยังมีสรรพ คุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ทำให้ท้องไม่ผูก ผลมะละกอสุกยังนำไปทำเป็นเครื่องดื่มคือ “น้ำมะละกอ” ใช้ดื่มหลังอาหารช่วยในการย่อยอาหารและลดกรดในกระเพา ะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้นเนื่องจากในผลมะละกอม ีเอนไซม์ปาเปอีน(Papain) นั่นเอง

มะละกอสุกยังมีประโยชน์อีกอย่างที่สำคัญคือ
ในผลสุกจะมีวิตามินเอ แคลเซียม วิตามินบี1 วิตามินบี2 และสารอาหารที่สำคัญสำหรับคุณสาวๆ นั่นคือ เบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีสรรพคุณ ในด้านความงามเช่น บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยก่อนวัยอันควร ชะลอความแก่ ฯลฯ นับได้ว่ามะละกอเป็นผลไม้เพื่อความงามก็ไม่น่าจะผิด

สรรพคุณทางยาของมะละกอ
สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้
1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก

ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใบ - บำรุงหัวใจ
เมล็ดแก่ - ถ่ายพยาธิ แก้กระหายน้ำ
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย:
1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป็นผักจิ้ม
2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papainเป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด

โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้

สารอาหารในมะละกอ
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้
เนื้อมะละกอสุก สารอาหาร ปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
-โปรตีน 0.5 กรัม
-ไขมัน 0.1 กรัม
-แคลเซียม 24 มิลลิกรัม
-ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
-เหล็ก 0.6 มิลลิกรัม
-โซเดียม 4 มิลลิกรัม
-ไทอะมีน 0.04 มิลลิกรัม
-ไรโบฟลาวิน 0.04 มิลลิกรัม
-ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม
-กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) 70 มิลลิกรัม
ข้อควรระวัง :
สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง

 
อาหารจากมะละกอ


 
มะละกอ มะละกอ มะละกอ ในครัวของหมอชาวบ้านเดือนนี้เต็มไปด้วยมะละกอทั้งดิบและสุก ตอนแรกเราคุยกันว่าจะทำอาหารจากมะละกอหลายประเภท เพื่อขานรับการแนะนำมะละกอในคอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้าของคุณเดชา อาหารที่หลายๆ คนช่วยกันนึก (ด้วยความอยากกิน) คือ
  • ส้มตำ
  • แกงส้มมะละกอ
  • แกงเหลืองมะละกอ
  • แกงป่ามะละกอ
แต่สุดท้ายทุกคนก็เห็นร่วมกันว่า อาหารเหล่านี้ชาวหมอชาวบ้านคงกินกันจนเบื่อแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้มตำ ซึ่งจะว่าไปแล้วสูตรของใครก็ของคนนั้น เราจึงเปลี่ยนแผนขอเป็นการทำอาหารจากมะละกอที่มักถูกมองข้าม คือ ผัดมะละกอ และมะละกอต้มจิ้มน้ำพริก เพราะเวลาทำอาหารแบบนี้มะละกอมักถูกมองข้ามพืชผักชนิดอื่นมักถูกเลือกเป็นอันดับต้นๆ ทั้งๆ ที่มะละกอเป็นพืพชผลที่หาได้ไม่ยาก ปลูกไว้ข้างบ้านสักต้นสองต้นก็พอกินได้ตลอดปี ที่สำคัญปลอดสารพิษฆ่าแมลง
คุณอาจจะลองทบทวนดูก็ได้ คุณจะพบว่า คุณมักผัดบวบใส่ไข่หรือใส่กุ้งบ่อยครั้ง แต่คุณแทบจะไม่นึกถึงมะละกอใส่ไข่เลย หรือเวลาคุณหาผักจิ้มน้ำพริก คุณจะนึกถึงชะอมมะเขือ แตงกวา ถั่วฝักยาว หน่อไม้ หรือแม้แต่มะระขี้นก แต่ดิฉันอยากจะบอกคุณว่ามะละกอต้ม (จะราดกะทิหรือไม่ราดก็ได้) จิ้มน้ำพริกนั้นอร่อย ปลอดจากสารพิษ น่าลิ้มลองจริงๆ และเห็นจะขาดไม่ได้คือมะละกอสุกซึ่งกินได้ทุกเพศทุกวัย นอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้อย่างเยี่ยมยอด แต่หลายๆ คนไม่ชอบกินมะละกอสุก บางคนไม่ชอบกินเพราะเห็นมันเละๆ ดูท่าทางไม่น่าอร่อย
วันนี้ดิฉันมีข้อแนะนำในการปอกมะละกอสุกให้ดูน่ากิน เริ่มต้นดังนี้นะคะ
1. หั่นมะละกอตามขวาง ขนาดพอประมาณ
2. แบ่งเป็นส่วนๆ ถ้าใช้แนวร่องของมะละกอก็จะยิ่งสวย
3.ใช้มีดคมๆ ปอกเปลือกทีละชิ้น (ตามรูป)
เคล็ดลับ คือ พยายามลงมือไถไปเพียงครั้งเดียวในแต่ละขั้น และมือควรจะแห้งและสะอาด ก่อนปอกล้างเปลือกมะละกอให้สะอาด และหาผ้าเช็ดให้แห้งก่อน ลองปอกแบบนี้ดูนะคะ ไม่แน่ว่าคนที่ไม่ชอบมะละกออาจจะเปลี่ยนมาชอบก็ได้ อย่าลืมเก็บเมล็ดมะละกอไว้ปลูกด้วยนะคะ