วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สูตรการทำแชมพู......สมุนไพรใช้เอง

สูตรการทำแชมพู......สมุนไพรใช้เอง

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
.....
เส้นผมเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากโพรงเล็กๆ เรียกว่าฟอลลิเคิล (follicle) ใต้หนังศีรษะ ซึ่งผมแต่ละเส้นประกอบด้วย 3 ชั้น  ชั้นนอกสุดเรียกว่า คิวติเคิล (cuticle) ลักษณะบางใส ไม่มีสีเป็นเคอราตินแข็งคล้ายเล็บ ชั้นนี้มีความสำคัญที่สุดเพราะทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ชั้นใน ทำให้ผมมีความแข็งแรง หากผมชั้นนี้ได้รับความกระทบกระเทือนจะทำให้เส้นผมดูหยาบกระด้าง  ไม่เงางาม ชั้นกลางเรียกว่า  คอร์เทกซ์ (cortex) เป็นชั้นที่หนาที่สุดภายในมีเม็ดสี (melanin) ทำให้เกิดสีผมและเป็นชั้นที่ทำให้ผมมีความยืดหยุ่น ชั้นในสุดเรียกว่า เมดูล่า (medulla) เป็นแกนกลางของเส้นผมมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนใหญ่  คือ เคอราติน (keratin) ประมาณ 65-95% และมีโพรงอากาศแทรกอยู่ตรงกลางสุด
     ส่วนหนังศีรษะของเรานั้น มีต่อมไขมันรวมอยู่ ทำหน้าที่ผลิตไขมันหรือน้ำมัน เพื่อเคลือบหนังศีรษะและเส้นผมยาวลงมาประมาณ 1 นิ้ว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อเส้นผม นอกจากนี้หนังศีรษะยังมีความเป็นกรดอ่อนๆ ดังนั้นแชมพูจึงต้องทำให้เป็นด่างเล็กน้อย เพื่อล้างกรดออกจากเส้นผมและหนังศีรษะออกให้หมดจะเลือกแชมพูอย่างไรดี

แชมพู (shampoo) 
     เราแบ่งแชมพูได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แชมพูเคมี ที่ใช้สารเคมีเป็นส่วนประกอบทั้งสารทำความสะอาดและสารบำรุง  และแชมพูธรรมชาติ (แชมพูสมุนไพร)  คือ แชมพูที่มีส่วนผสมของสารทำความสะอาดและใช้สมุนไพรเป็นสารบำรุง ซึ่งบางชนิดอาจจัดเป็นแชมพูสมุนไพรสดที่ใช้สมุนไพรมาผลิตเป็นยาสระผมโดยไม่ใส่สารกันเสียใดๆ

     หากต้องการซื้อแชมพูขจัดรังแคเคมี สารประกอบสำคัญที่คุณจะพบคือซิงค์ไพริไทออน (Zinc pyrithione) เพื่อลดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิวหนังและต้านเชื้อแบคทีเรีย แต่หากเป็นแชมพูธรรมชาติสารที่พบอาจเป็นสารสกัดจากมะกรูดทำให้ผมนิ่มขึ้น  แต่หากต้องการซื้อแชมพูเพื่อบำรุง ควรดูว่าเส้นผมมีลักษณะอย่างไรและเลือกแชมพูให้ตรงกับชนิดของเส้นผม 
 
     นอกจากนี้คุณควรอ่านฉลากทุกครั้ง ก่อนซื้อสินค้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อจะได้แชมพูตรงกับความต้องการและสภาพเส้นผมมากที่สุด ตัวอย่างเช่น หากเป็นคนผมมัน ควรเลือกแชมพูที่มีมอยเจอร์น้อยๆ เพื่อจำกัดความมันของหนังศีรษะและควรใช้ครีมนวดเฉพาะปลายผมลงมา ไม่ควรใช้ครีมนวดผมบนศีรษะ คนผมแห้งควรใช้มอยเจอร์ในปริมาณที่มากขึ้น และใช้ตั้งแต่หนังศีรษะลงมาจนถึงปลายผม และใช้ครีมนวดผมทุกครั้งหลังสระผม สำหรับคนผมธรรมดาสามารถใช้แชมพูได้ทุกประเภท เพียงหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้ผมเสีย เช่น การย้อมผม หรือการหวีแรงๆ



ทำแชมพูสมุนไพรใช้เอง

ขิง (Ginger) : แก้ผมร่วง ทำให้เส้นผมเกิดใหม่ได้ดีขึ้น
วิธีใช้ : นำเหง้าสดมาเผาไฟ ทุบให้แตกผสมน้ำนำไปขยี้ให้ทั่วศีรษะ วันละ 2 ครั้ง ประมาณ 3 วัน หรือนำขิงแก่ 1 เหง้า  ขนาดเท่าฝ่ามือตำให้ละเอียด ห่อด้วยผ้าขาวบางเป็นลูกประคบ วางบนหม้อประคบที่ต้มน้ำจนเดือด  เมื่อลูกประคบร้อนนำไปประคบบริเวณผมร่วง ทำวันละ 2 ครั้ง 20-30 นาที  3-5  วัน จะเห็นผล

ตะไคร้ (Lemon Grass) : แก้ผมแตกปลาย ขจัดรังแค ทำให้ผมดกดำ
วิธีใช้ : ใช้ต้นตะไคร้ 3-4 ต้น หั่นเป็นชิ้นแล้วตำ คั้นเอาน้ำมาใช้นวดหลังสระผมทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้างออก ทำทุกครั้งหลังสระผม จะเห็นผลภายใน 2 เดือน

ฟ้าทลายโจร : แก้ผมร่วง 
วิธีใช้ : นำมาต้มกับน้ำ หลังสระผม ชโลมให้ทั่วศีรษะทิ้งไว้สักครู่แล้วจึงล้างออก

มะกรูด (Kaffir Lime) : ทำให้ผมดกดำ นิ่มสลวย ขจัดรังแค แก้ผมร่วงวิธีใช้ :1. มะกรูด 1 ผลผ่าซีก ต้มกับน้ำ 2 แก้วให้เดือดยกลงจากเตา ทิ้งไว้ 5 นาที บีบเอาน้ำมะกรูด กรองเอาเนื้อและกากออก นำน้ำที่ได้ไปสระผม ผมจะนิ่มสลวย
2. ผลมะกรูด 1 ผลบีบเอาแต่น้ำ นำมาผสมหัวกะทิ  กวนให้เข้ากันใช้ขยี้ให้ทั่วศีรษะทิ้งไว้ 10 นาที แล้วจึงล้างออก ทำวันละครั้งติดต่อกัน 7 วัน ผมจะดกดำ
3. ผลมะกรูด 1 ผล เผาไฟให้ร้อน คั้นเอาน้ำใช้ขยี้บนศีรษะให้ทั่วทิ้งไว้ 2-3 นาที ล้างออกให้สะอาด ช่วยขจัดรังแค

มะพร้าว (Coconut) : ทำให้ผมนิ่ม รักษาผมแห้งแตกปลาย
วิธีใช้ : บีบเนื้อมะพร้าวเป็นกะทิ นำไปเคี่ยวจนได้น้ำมัน ใช้นวดเส้นผม ทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วจึงสระออก

ว่านหางจระเข้ : ทำให้ผมลื่น หวีง่าย นุ่มสลวย รักษาแผลบนหนังศีรษะ
วิธีใช้ : ใช้ใบแก่ที่มีน้ำเมือกมาก ล้างให้สะอาด แช่ในน้ำอุ่น 5-10 นาที ให้ยางสีเหลืองไหลออกให้หมด เอามีดเฉือหนามออกทั้งสองข้าง ผ่าเนื้อวุ้นออกเป็น 2 ซีก นำน้ำวุ้นที่ได้มาทาผมแทนการใส่น้ำมัน หรือนำเนื้อวุ้นที่ได้มาใส่เครื่องปั่น  ปั่นให้ละเอียดน้ำวุ้นที่ได้ใช้หมักผมทิ้งไว้ 5 นาทีแล้วล้างออก


 
สูตรแชมพูสมุนไพรสด สูตรรำข้าว

ส่วนประกอบ :

- มะกรูด 1 ผล
- ฝักส้มป่อย 1-2 ฝัก
- รำข้าวละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ :
1. นำมะกรูดและฝักส้มป่อยไปเผาไฟให้มีกลิ่นหอม
2. ผ่าซีกมะกรูด นำไปต้มรวมกับฝักส้มป่อยในน้ำ 1 ชาม  ต้มจนเดือด
3. นำน้ำที่ต้มได้ผสมกับน้ำเย็น 1 กะละมัง
4. เติมรำข้าว คนให้เข้ากัน  เอาน้ำที่ได้ไปชโลมเส้นผม นำกะละมังมารองน้ำที่ใช้ชโลมแล้วกลับมาทำซ้ำอีก ใช้หวีซี่ห่างสางผมไปด้วย ทำเช่นนี้ไป 10-15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด 

สูตรนี้เมื่อใช้แล้วจะทำให้ผมนิ่ม ไม่พันกัน และมะกรูดจะช่วยรักษารังแคและอาการคันหนังศีรษะ

ใส่ใจหนังศีรษะบ้าง

    
เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น กล้ามเนื้อใต้หนังศีรษะก็จะเกิดความตึงเครียดด้วย ทำให้ระบบไหลเวียนน้ำเหลืองใต้หนังศีรษะทำงานได้ไม่ดีและเกิดเป็นของเสียตกค้างใต้หนังศีรษะ ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเส้นผมได้ไม่เพียงพอ การนวดผ่อนคลายกล้ามบริเวณหนังศีรษะจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยการนวดหนังศีรษะทุกครั้งที่สระผม ด้วยการกางนิ้วมือทั้งสิบกดลงไปและนวดให้ทั่วศีรษะ  เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และนวดต้นคอและบ่าทั้งสองข้าง  เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตและการไหลเวียนน้ำเหลืองให้ทำงานดีขึ้น

     นอกจากการนวดหนังศีรษะแล้ว การดีท็อกเส้นผมและหนังศีรษะก็สามารถช่วยกำจัดของเสียได้เช่นกัน โดยทำได้ 2 วิธีคือการนวดด้วยมือ และการดีท็อกหนังศีรษะด้วยแรงดันน้ำระบบสูญญากาศ เพื่อชะล้างคราบสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่บนเส้นผม  และใช้น้ำอุ่นกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้หล่อเลี้ยงหนังศีรษะได้ดีขึ้น แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดต่างกันไป เช่น การนวดด้วยมือสามารถสร้างความผ่อนคลายได้มากกว่าการนวดด้วยเครื่อง ในขณะที่การนวดด้วยเครื่องสามารถทำความสะอาดเส้นผมได้ล้ำลึกมากกว่าการนวดด้วยมือเป็นต้น
     การทำดีท็อกหนังศีรษะขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละคน เช่น ผู้ที่ทำสีผมบ่อย ผมเสียมาก หรือมีปัญหาเรื่องผิวหนังอักเสบ เป็นแผลเป็นรังแค อาจทำบ่อยได้ถึง 2 ครั้งต่อเดือน สำหรับผู้ต้องการดูแลเส้นผมธรรมดาอาจทำเดือนละ 1 ครั้งก็น่าจะพอแล้ว

     การเสริมสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเส้นผมจากภายในด้วยการเลือกกินอาหารก็จำเป็นเช่นกัน ถ้าคุณต้องการให้ผมเงางามควรกินสารอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ฟักทอง มะละกอ ตำลึง หรือแครอท และควรเสริมวิตามินซีและอี ธาตุสังกะสี  ธาตุเหล็ก จากอาหารจำพวกข้าวไม่ขัดขาว ข้าวสาลี ไข่ ถั่ว นม ธัญพืช ผักผลไม้ และตับ เพื่อบำรุงเส้นผมด้วย ที่สำคัญควรลดการดื่มน้ำอัดลม เนื่องจากทำให้เลือดเป็นกรดและส่งผลให้เส้นผมสูญเสียแร่ธาตุ




การทำสบู่สมุนไพร

วิธีการทำสบู่ วิธีทำสบู่ การทำสบู่สมุนไพร ทำสบู่สมุนไพร

มีวิธีทำสบู่มาบอก เป็นที่ทราบกันดี ว่าสบู่ช่วยรักษาความสะอาดให้ร่างกาย และสิ่ง อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ความสะอาดช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค การทำสบู่ใช้เองภายในบ้านสามารถทำได้โดยอาศัยส่วนประกอบที่สำคัญคือ ไขมันและน้ำด่าง วิธีการทำสบู่ มีอยู่ 2 วิธีคือ
วิธีที่ 1 ใช้น้ำ ด่างสำเร็จรูปในท้องตลาด หากสามารถหาซื้อน้ำด่าง สำเร็จรูปได้ง่ายในท้องตลาด
วิธีที่ 2 ใช้น้ำ ด่างจากการชะล้างขี้เถ้า วิธีนี้ได้แบบอย่างมาจากผู้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือรุ่นแรก ๆ
ส่วนผสมของสบู่
1. ไขมัน และน้ำมัน อาจเป็นไขมันสัตว์หรือน้ำมันพืชก็ได้ แต่น้ำมันจากแร่ธาตุใช้ไม่ได้ ไขมันสัตว์ เช่น ไขวัว กระบือ น้ำมันหมู ฯลฯ ไขมัน พืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก ข้าวโพด เมล็ดฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และน้ำมันละหุ่ง ฯลฯ
2. น้ำด่าง น้ำด่างสำเร็จรูปที่ขายในท้องตลาดเรียกว่า โซดาไฟ หรือผลึกโซดา หรือผลึกโซเดียมไฮดรอกไซด์ ราคาถูกมีขายทั่วไป หรือน้ำ ด่างที่ได้จากการชะล้างขี้เถ้าเรียกว่า โพแทช
3. บอแร็ก ซ์ สารบอแร็กซ์นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ แต่สารนี้ช่วยให้ สบู่มีสีสันสวยงามและทำให้เกิดฟองมาก มีจำหน่ายตามร้านขายยา หรือร้านขายของชำ มีชื่อเรียกว่า ผงกรอบ หรือผงนิ่ม ส่วนใหญ่บรรจุในถุง พลาสติก
4. น้ำหอม น้ำหอมก็ไม่จำเป็นต้องใช้เช่นกัน แต่ถ้าใช้จะทำให้สบู่ มีกลิ่นดีขึ้น ถ้าไขมันที่ใช้ทำสบู่นั้นเหม็นอับ ใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดผสม จะช่วยให้กลิ่นหอมยิ่งขึ้นและไม่เน่า
5. น้ำ น้ำที่ใช้ทำสบู่ได้ดีต้องเป็นน้ำอ่อน ถ้าเป็นน้ำกระด้างจะทำ ให้สบู่ไม่เกิดฟอง จึงขจัดความสกปรกไม่ได้ ควรทำให้น้ำนั้นหายกระด้าง เสียก่อน โดยเติมด่างประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ (15 มิลลิลิตร) ต่อน้ำกระด้าง 1 แกลลอน (3.8 ลิตร) คนให้เข้ากัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน จึงเท เอาส่วนบนออกมา ส่วนน้ำและตะกอนที่ก้นภาชนะเททิ้งไปได้ น้ำที่เหมาะ ในการทำสบู่มากที่สุดคือน้ำฝน
การทำสบู่จากน้ำ ด่างสำเร็จรูปในท้องตลาด
อุปกรณ์
- ถ้วย ถังหรือหม้อที่ทำด้วยเหล็กหรือหม้อดินก็ได้ แต่ อย่าใช้หม้ออะลูมิเนียม เพราะด่างจะกัด
- ถ้วยตวง ที่ทำด้วยแก้วหรือกระเบื้องเคลือบ
- ช้อน กระเบื้องเคลือบหรือช้อนไม้ และใบพายหรือกิ่งไม้ ขนาดเล็กสำหรับคน
- แบบพิมพ์ สบู่อาจจะทำด้วยแผ่นไม้หรือกระดาษแข็งก็ ได้ ขนาดของแบบพิมพ์จะใช้กว้างหรือยาวตามต้อง การ แต่ส่วนลึกควรจะเป็น 2-3 นิ้ว ดีที่สุด
- ผ้าฝ้ายหรือกระดาษมันสำหรับรองรับสบู่ในแบบพิมพ์ โดยตัดผ้าหรือกระดาษออกเป็น 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งกว้าง กว่าเล็กน้อย อีกชิ้นหนึ่งยาวกว่าแบบเล็กน้อย ใช้ สำหรับช่วยยกสบู่ออกจากแบบพิมพ์ง่ายขึ้น
อัตราส่วนของส่วน ผสมที่ใช้ในการทำสบู่ได้ประมาณ 4 กิโลกรัม
น้ำมันหรือไขแข็งสะอาด 3 ลิตร หรือ 2.75 กก.
บอแร็กซ์ 57 มิลลิลิตร (1/4 ถ้วย)
ผลึกโซดาหรือน้ำด่าง 370 กรัม
น้ำ 1.2 ลิตร
น้ำหอม (เลือกกลิ่นตามต้องการ) 1-4 ช้อนชา
ขั้นตอนในการทำ สบู่
1. เตรียม ไขมัน ถ้าไขมันไม่สะอาด ควรทำให้สะอาดเสียก่อน โดยเอาไปต้มกับน้ำในปริมาณที่เท่ากันในกาต้มน้ำ เมื่อเดือดแล้วเทส่วน ผสมผ่านผ้าบาง ๆ หรือตะแกรงสำหรับกรองลงในภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วเติมน้ำเย็นลงไป 1 ส่วนต่อส่วนผสม 4 ส่วน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นโดยไม่ ต้องคน ถ้าจะให้สะอาดยิ่งขึ้นควรใส่มันเทศที่หั่นเป็นแว่นลงไปก่อน ที่จะต้มส่วนผสม
2. เตรียม น้ำด่างผสม ทำได้โดย ตวงน้ำตามปริมาณที่ต้องการ แล้วค่อย ๆ เติมด่าง (ผลึก โซดา) ที่จะใช้ลงไปในน้ำ ไม่ควรเติมน้ำลงไปในด่าง เพราะจะเกิดความร้อน และกระเด็นทำให้เปรอะเปื้อนได้ แล้วปล่อยให้น้ำด่างผสมนี้เย็นลงจนปกติ
3. ค่อย ๆ เติมน้ำด่างผสมนี้ลงไปในไขมันที่ละลายแล้วในข้อ 1 ขณะ ที่เติมนี้ต้องคนส่วนผสมทั้งหมดนี้อย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอในทิศทาง เดียวกัน จนกว่าส่วนผสมจะข้นตามปกติ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ช่วงนี้ เติมน้ำหอมที่เตรียมไว้ลงไปได้ หลังจากนั้นปล่อยไว้ 15-20 นาที จึงค่อย คนหนึ่งครั้ง ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง เมื่อส่วนผสมเหนียวดีแล้วจึงเทลงในแบบ พิมพ์ ซึ่งมีผ้าหรือกระดาษมันรองอยู่
4. หาฝา ครอบแบบพิมพ์ แล้วทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน ไม่ควรมีการ เคลื่อนย้ายหรือถูกกระทบกระเทือน สบู่จะยึดกันแน่นสามารถเอาออกจาก แบบพิมพ์ได้
5. เมื่อ สบู่แข็งตัวดีแล้ว นำออกจากแบบพิมพ์ แล้วใช้เส้นลวดหรือ เส้นเชือกตัดสบู่ออกเป็นชิ้น ๆ ตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำไปวางเรียงไว้ให้ อยู่ในลักษณะที่ลมพัดผ่านได้ทั่วถึงในบริเวณที่อุ่นและแห้ง ปล่อยไว้ 2-4 สัปดาห์ ก็นำไปใช้ได้
การทดสอบว่าสบู่ จะดีหรือไม่
  • – สบู่ที่ ดีควรจะแข็ง สีขาว สะอาด กลิ่นดีและไม่มีรส สามารถขูด เนื้อสบู่ออกเป็นแผ่นโค้ง ๆ ได้
  • – ไม่มัน หรือลื่นจนเกินไป เมื่อใช้ลิ้นแตะดูไม่หยาบหรือสาก
  • การปรับปรุงสบู่ให้ดีขึ้น
  • ถ้าสบู่ที่ผ่าน ขั้นตอนตามเวลาที่ทำทุกช่วงแล้ว แต่ยังมีส่วนผสมบาง ส่วนไม่แข็งตัวหรือแยกกันอยู่ หรือไม่ดีเพราะสาเหตุใดก็ตาม อาจแก้ไขให้ดี ขึ้นดังนี้
  • – ตัดสบู่ ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อที่มีน้ำบรรจุอยู่ 2.8 ลิตร พร้อมทั้งเทส่วนที่เป็นของเหลวที่เหลืออยู่ในแบบพิมพ์ลงไปด้วย
  • – นำไปต้ม นานประมาณ10 นาที อาจเติมน้ำมะนาวหรือน้ำมัน อื่น ๆ ที่มีกลิ่นหอมลงไปในส่วนผสมประมาณ 2 ช้อนชา (ถ้ายังไม่ได้เติม)ต่อจากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในแบบพิมพ์ ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปล่อยไว้ 2 อัน แล้วดำเนินการตามที่กล่าวมาแล้ว

น้ำยาเอนกประสงค์

สูตรน้ำยาล้างจาน น้ำ​ยาล้างจาน​ ​น้ำ​ยา​เอนกประสงค์สูตรอาจารย์พูนสวัสดิ์
ส่วน​ผสม
  • N70 (หัวแชมพู)                     1     ​กิ​โลกรัม
  • F24 (สารขจัดคราบไขมัน)      1/2  ​กิ​โลกรัม
  • เกลือ​                                    1-1.5 ​กิ​โลกรัม
วิธีทำ
  1. ต้มเกลือ​โดย​ใช้​น้ำ​ 2-3 ​ลิตร​ ​จนเกลือละลายหมด​ ​ตั้ง​ไว้​จนเย็น
  2. เอา​ N 7O ​ผสม​กับ​ F 24 ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​ราว​ 10 ​นาที
  3. ค่อยๆ​เทน้ำ​เกลือลงไปทีละน้อยๆ​ ​แล้ว​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนหมด
  4. หลัง​จาก​นั้น​ ​เติมน้ำ​ลงไป​และ​กวนเรื่อยๆ​ ​โดย​ใช้​น้ำ​ประมาณ​ 10-15 ​ลิตร​ ​ทั้ง​นี้​ให้​สังเกตว่า​ ​ความ​ข้นของน้ำ​ยาอเนกประสงค์​ ​หาก​ยัง​ข้น​หรือ​เหนียวมาก​ ​ก็​สามารถ​เติมน้ำ​เปล่า​ ​ลงไป​ได้​อีก​ ​จนเห็นว่า​ ​ได้​ความ​ข้นที่​เหมาะสม
  5. ใส่​หัวน้ำ​หอม​ ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​แล้ว​ตั้งทิ้ง​ไว้​จนฟองยุบ​(1 ​คืน) ​แล้ว​ตัก​ใส่​ขวดเอา​ไว้​ใช้
นอก​จาก​นี้​ ​อาจ​จะ​ใช้​น้ำ​ผลไม้​เปรี้ยว​ ​หรือ​น้ำ​หมัก​จาก​ผลไม้​เปรี้ยวทดแทนน้ำ​ได้​บ้าง​
 ​ไม่​ยาก​ใช่​มั๊ยครับ​ ​ตอนที่ผมทำ​ผม​ใช้​ส่วน​ผสมครึ่งหนึ่งของสูตรนี้ก็​ได้​น้ำ​ยาล้างจานประมาณ​ 10 ​ลิตร​ ​ด้วย​เงินลงทุน​ 55 ​บาท​ ​แจกคน​ใน​ละ​แวก​ใกล้ๆ​ ​บ้านจนหมด​ ​ผลตอบรับที่กลับมา​เป็น​เสียงเดียว​กัน​ว่า​ "ดีกว่าน้ำ​ยาล้างจานยี่ห้อ​..." ​ไม่​พูด​ถึง​นะครับว่ายี่ห้ออะ​ไร
เห็นมั๊ยครับว่า​ถ้า​สามารถ​ทำ​เอง​ได้​ประหยัดกว่าซื้อตั้งเยอะ​ ​เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงอย่าทำ​ให้​เป็น​เรื่องยาก​ ​ถ้า​อันไหนที่ทำ​แล้ว​สามารถ​พึ่งตัวเอง​ได้​ก็​เป็น​ส่วน​หนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง​แล้ว​ครับ​ ​อีกอย่างคุณก็​จะ​เป็น​ "คนมีน้ำ​ยา​"

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์จากไม้ไผ่

ประโยชน์จากไม้ไผ่

ประโยชน์จากไม้ไผ่
  ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
        ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก





ประโยชน์จากไม้ไผ่











 






มหัศจรรย์คุณประโยชน์จากไผ่...

เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพ :  คุณกฤษณ หอมคง 
เรียบเรียง :  เคหการเกษตร
      ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์  อุตสาหกรรมประมง  อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ ซึ่งแค่ในส่วนของการตัดลำไผ่เพื่อจำหน่ายในอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็มีปริมาณมากกว่า 30,000 ตัน/ปี หรือประมาณ 2,500,000 ลำ คิดเป็นรายได้สู่ชาวสวนไผ่มากกว่า 10,000,000 บาท ซึ่งไผ่เหล่านี้นำไปใช้ในรูปแบบใดบ้าง ทางเคหการเกษตรขอนำเสนอภาพรวมในบางส่วนก่อนลงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับไผ่ให้ท่านผู้อ่านทราบต่อไป
ไผ่กับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
        ปัจจุบันมีการนำไผ่มาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์มาก มาย ทั้งในรูปของตกแต่งบ้าน ชุดโตีะเก้าอี้ เตียงนอน ฯลฯ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทยมากกว่า 100 ล้านบาทต่อปี
 

 
ไผ่กับอุตสาหกรรมก่อสร้าง
      ในต่างประเทศมีการนำไผ่มาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างมากมายทั้งนำมาเพื่อการสร้างบ้านเรือน สร้างสะพาน สร้างเรือ ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยเองก็มีหลายสถานที่ที่เริ่มสร้างบ้านจากไม้ไผ่ ดังเช่น หลายรีสอร์ทในประเทศที่มีการสร้างบ้านและสถานที่พักผ่อนจากไผ่ ฯลฯ






ไผ่กับอุตสาหกรรมประมงและไม้ค้ำยัน
    ใน 1 ปีมาการตัดลำไผ่เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมประมงมากมาย ทั้งการนำมาปักเพื่อเลี้ยงหอย เพื่อเป็นไม้กันคลื่นเซาะฝั่ง อีกทั้งยังเป็นไม้ค้ำยันในการก่อสร้าง ในสวนไม้ผล ซึ่งพันธุ์ไผ่ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ในแต่ละปีใช้มากกว่า 10,000 ตัน


ไผ่กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ
          ไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์ชินใหญ่ ๆ เท่านั้นที่สามารถสร้างรายได้จากไผ่ ไผ่ยังถือเป็นส่วนประกอบเล้ก ๆ ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ การนำไผ่มาตกแต่งบ้านในลักษณะเป็นไม้ปูพื้น นำมาตกแต่งอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ต่าง ๆ ใช้เพื่อเป็นส่วนประกอบในการผลิตข้าวหลาม รวมถึงนำมาแปรรูปเป็นอาหาร เป็นต้น

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฏาคม 2011 เวลา 16:30 น.